อำนาจหน้าที่
แยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้ง อบต. และอํานาจหน้าที่ ตามกฎหมายกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายเลือกตั้ง อบต. อบต. มีอํานาจหน้าที่ในการพัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม: กิจการสาธารณที่ อบต. มีอํานาจหน้าที่จัดทําสามารถจําแนกได้ 2 ประเภทคือ
1) กิจการที่ อบต. มีหน้าที่ต้องทําในเขต อบต.ดังนี้
- จัดให้มีการบํารุงรักษาทางน้ำและทางบก
- รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล
- ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
- ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- คุ้มครองดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความจําเป็น และสําคัญ
2) กิจการที่ อบต. อาจจัดทําในเขต อบต. ดังนี้
- ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร
- ให้มีการบํารุงรักษาการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- ให้มีและบํารุงรักษาทางระบายน้ำ
- ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
- ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
- บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
- การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
- ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
- กิจการเกี่ยวกับการพานิชย์
- การท่องเที่ยว
- การผังเมือง
อํานาจหน้าที่ อบต. ดังกล่าวข้างต้น ไม่ตัดอํานาจของกระทรวง ทบวง กรม องค์การหรือ หน่วยงานของรัฐในการเข้าไปดําเนินการใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในตําบล แต่จะต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วงหน้า และนําความเห็นของ อบต. เกี่ยวกับกิจการดังกล่าวไปประกอบการพิจารณา ดําเนินงานด้วย
อํานาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น
นอกจากอํานาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ สภาตําบล และอบต. พ.ศ. 2537 แล้ว อบต. ยังมีอํานาจ หน้าที่เพิ่มเติมในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตน ตาม มาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
- การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
- การสาธารณูปการ
- การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส
- การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงาม ของท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- การส่งเสริมการกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การจํากัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนกิจสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
- การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันละบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและการสนับสนุน การป้องกันและ รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น
การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น อบต.
เพื่อใช้บังคับในเขต อบต. ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตาม อํานาจหน้าที่ของ อบต. หรือเมื่อมีกฎหมายกําหนดให้ อบต. ออกข้อบัญญัติในการนี้จะกําหนด ค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกําหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กําหนดโทษปรับเกินหนึ่งพัน บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ร่างข้อบัญญัติ อบต. จะเสนอได้โดยนายก อบต. หรือ สมาชิกสภา อบต. หรือราษฎรในเขต อบต. ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
การปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าที่ของ อบต.
ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้ คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนาอบต. การจัดทํางบประมาณ การจัดซื้อ จัดจ้าง การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด